Last updated: 11 มี.ค. 2567 |
รู้ไว้เรื่องภาษี ก่อนคิดจะขนส่งข้ามประเทศ
ธุรกิจนำเข้า - ส่งออก เป็นธุรกิจที่มีภาษีที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนั้นถ้าขาดความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นภาษีเหล่านี้ อาจทำให้ธุรกิจของคุณเกิดปัญหาและลำบากในการตัดสินใจในอนาคตได้
ภาษีอากร(Tax) คืออะไร?
คือ การเก็บภาษีเพื่ออนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งการนำสินค้าเข้าประเทศแน่นอนว่าจะต้องมีการเรียกเก็บภาษี ซึ่งภาษีจะเรียกเก็บในอัตราเดียวกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสินค้าชนิดในก็ตาม แต่จะมียกเว้นในบางกรณี เฉพาะบางประเทศ หรือบางรัฐ เพราะรัฐบาลส่วนมากมีกฏหมายปลอดภาษีให้กับประชาชน เช่น ถ้าหากสินค้าที่สี่งเข้ามาในสหัฐอะมริกา และมีใบสั่งซื้อสินค้า ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 เหรียญ (ประมาณ 24,000 บาท++) ก็จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีนั่นเอง ทั้งนี้ เมื่อคุณนำเข้าสินค้าปลายทางคือประเทศใด ควรตรวจสอบมูลค่าสินค้าขั้นต่ำที่แต่ละประเทศกำหนดไว้ว่าไม่ต้องเสียภาษี
ประเภทของการการจัดเก็บภาษีอากร
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.อากรแสตมป์
ภาษีนำเข้าคืออะไร?
หรือภาษีศุลกากรเป็นภาษีที่รัฐบาลจะเรียกเก็บจากผู้นำเข้า ไม่ว่าจะนำเข้ามาทางน้ำ ทางบกหรือทางอากาศก็ตาม เพื่อนำไปพัฒนาประเทศในลำดับต่อไป สินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราภาษีนำเข้าที่แตกต่างกันหรือเรียกว่าพิกัดภาษี อย่างไรก็ตาม ภาษีนำเข้าสินค้าบางประเภท ทางรัฐบาลก็ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมด้วยการยกเว้นภาษีนำเข้าให้กับเครื่องจักรการผลิต เพื่อส่งเสริมการลงทุน ภาษีศุลกากรนั้นถือได้ว่าเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระไปให้กับผู้
หลักการเก็บภาษีนำเข้า
ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านพิธีการศุลกากร ไม่ว่าจะนำเข้ามาทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศก็ตาม เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ โดยกรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีขาเข้า-ขาออกและภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น สินค้านำเข้าจะต้องเสียภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยสินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันหรือเรียกว่าพิกัดภาษี เพื่อปกป้องการค้าภายในประเทศ ให้ราคาสินค้านำเข้าสูงกว่า ทำให้สินค้าที่เหมือนกันในประเทศยังพอดำเนินการต่อไปได้
องค์ปะกอบของภาษีนำเข้า
1.ภาษีนำเข้า หรืออากรขาเข้า หรือภาษีนำเข้าส่งออก กรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บ
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย หรือเมื่อต่างประเทศมีการขนส่งสินค้าจากไทยเข้าไป ทางกรมศุลกากรจะต้องเก็บและนำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยรัฐจะกำหนดนโยบายว่าจะเก็บภาษีนำเข้าเท่าไร และบวก VAT 7% เข้าไปด้วย
ราคาที่ใช้คิดภาษีนำเข้า คือ CIF ซึ่งประกอบด้วย C = ราคาสินค้า I = ประกันภัย และ F = ค่าขนส่ง
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสูตรการคิดภาษีนำเข้าสินค้า คือ การคำนวณภาษีนำเข้าสามารถใช้สูตรคำนวณได้ดังนี้
– มูลค่ารวมของสินค้า CIF x อัตราอากรขาเข้า (%) = อากรขาเข้า (5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าหรือพิกัดสินค้า)
– (มูลค่ารวม CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat % = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
– นำอากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ
1. (ค่าสินค้า + ประกัน + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ) = ราคา CIF
จะได้ (1,000,000 + 10,000 + 50,000 ) = 1,060,000 บาท
2. (มูลค่ารวม CIF x ค่าภาษีอากรขาเข้า *สมมุติ 10%*) = ภาษี
จะได้ (1,060,000 x 10%) = 106,000 บาท
3. (มูลค่ารวม CIF + ภาษี) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat7 % ) = ภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้ (1,060,000 + 106,000 ) x 7% = 81,620 บาท
4 (ภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม) = มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ
จะได้ (106,000 + 81,620) = 187,620
เทคนิคนำเข้าให้ปลอดภาษี
ดังนั้น ในกรณีที่นำเข้าสินค้าโดยการหิ้วเข้ามาเอง ควรพยายามอย่าให้สินค้าเกินเกณฑ์ที่กรมศุลกากรกำหนดในการนำเข้า เช่น ของใช้ส่วนตัวมูลค่ารวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 20,000 บาท หรือเป็นของที่นำเข้ามาไม่อยู่ในลักษณะทางการค้า เช่น ซื้อกระเป๋าจำนวนมากแม้มูลค่ารวมจะไม่ถึง 20,000 บาท แต่ก็เข้าข่ายจะซื้อมาเพื่อการค้าขายก็ต้องเสียภาษีนำเข้า ส่วนการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่านบริการขนส่ง สินค้านำเข้าที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ต้องเป็นของซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยไม่เกิน 1,500 บาท หรือตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้เพียงเป็นตัวอย่าง และไม่มีราคาในทางการค้า และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องกำกัด เป็นของยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยหลักการสั่งซื้อของนำเข้าสามารถทำได้คือ สั่งของรวมทั้งหมดแล้วอย่าให้เกิน 1,500 บาท และพยายามสั่งของประเภทเดียวกัน เพราะอัตราภาษีที่ต้องเสียขึ้นอยู่กับพิกัดที่กฎหมายกำหนด ซึ่งพิกัดอัตราศุลกากรแตกต่างกันตามประเภทสินค้า
สินค้านำเข้าประเภทไหนที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
นอกจากการนำเข้าสินค้าทั่วไปที่ราคาต่ำกว่า 1,500 บาท ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าแล้วก็ยังมีสินค้าบางรายการหรือบางประเภทที่ได้รับยกเว้นในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยเช่นกัน ประกอบไปด้วย
ของใช้ส่วนตัวที่นำมาจากต่างประเทศมูลค่ารวมต่ำกว่า 10,000 บาท
สินค้ามูลค่ารวมต่ำกว่า 20,000 บาท
บุหรี่ต่ำกว่า 200 มวน หรือ ยาสูบน้ำหนักน้อยกว่า 250 กรัม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีปริมาณน้อยกว่า 1 ลิตร
สนใจส่งพัสดุไปต่างประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
: 02-656-3448
: 087-499-9088
: @ayecargo
หรือคลิก ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
line/ayecargo
Email: ayecargo@yahoo.com
https://www.ayecargo.com
Aye cargo ที่เดียวจบครบทุกการส่งออก
4 ต.ค. 2567
17 พ.ค. 2567
26 มี.ค. 2567
5 ต.ค. 2567