Last updated: 5 ก.ค. 2568 |
ในยุคที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าสินค้าจากจีน ยุโรป ส่งของไปต่างประเทศ หรือแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจนำเข้ากลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ แม้ดูน่าสนใจ แต่ ภาษีนำเข้า คือเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะส่งผลต่อ ต้นทุนสินค้า และความคุ้มค่าทางธุรกิจ หากไม่เข้าใจให้ชัดเจน อาจเสี่ยงต่อปัญหาเรื่องเอกสาร ภาษีย้อนหลัง หรือสินค้าติดด่านศุลกากร
บทความนี้จะพาคุณรู้จักประเภทของภาษีนำเข้าที่ต้องรู้ว่าการนำเข้าสินค้าแต่ละครั้ง เสียภาษีอะไรบ้าง วิธีคำนวณเบื้องต้น และเคล็ดลับวางแผนให้นำเข้าได้คุ้มค่า ถูกต้อง และปลอดภัยในระยะยาว
ภาษีนำเข้า (Import Duty) คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราภาษีนำเข้าคิดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าสินค้าหรือจำนวนตามปริมาณที่กำหนดไว้ตามพิกัดศุลกากร จุดประสงค์ของภาษีประเภทนี้ไม่ใช่แค่การเก็บเงินเข้ารัฐเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อเศรษฐกิจในหลายมิติ
เมื่อคุณนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ไม่เพียงแค่ต้องจ่าย “ภาษีนำเข้า” เท่านั้น แต่ยังมีภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ต้องรู้ เพื่อให้สามารถวางแผนต้นทุนได้อย่างถูกต้อง มาดูกันว่ามีภาษีอะไรบ้าง และคำนวณอย่างไร
ภาษีศุลกากร คือ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ คิดจาก มูลค่าของสินค้า (CIF) ซึ่งรวมราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากราคาสินค้า + ภาษีศุลกากร โดยปัจจุบันอัตรา VAT อยู่ที่ 7% ในประเทศไทย
ภาษีสรรพสามิต คือ เป็นภาษีที่จัดเก็บกับสินค้าบางประเภท เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มบรรจุขวด น้ำหอม ยานยนต์ ฯลฯ ตามกฎหมายสรรพสามิต
ภาษีเพื่อมหาดไทย คือ เป็นภาษีต่อเนื่องจากภาษีสรรพสามิต โดยคิดจากยอดภาษีสรรพสามิตที่ต้องชำระ นำส่งให้กระทรวงมหาดไทย
เพื่อให้คุณเข้าใจการคำนวณภาษีนำเข้าชัดเจนขึ้น เราลองมาดูสถานการณ์สมมติในการคำนวณภาษีนำเข้า เครื่องใช้ไฟฟ้า จากต่างประเทศดังนี้
สมมติว่า คุณต้องการนำเข้า “เครื่องปั่นน้ำผลไม้” จากญี่ปุ่น จำนวน 50 เครื่อง มูลค่าสินค้า (CIF) รวม 50,000 บาท และอัตราภาษีศุลกากรของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อยู่ที่ 10%
จากตัวอย่างนี้ คุณจะต้องจ่ายภาษีนำเข้ารวม 8,850 บาท เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย และนี่คือต้นทุนภาษีสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวณเพื่อกำหนดราคาขาย และวางแผนการทำธุรกิจนำเข้าของคุณอย่างรอบคอบ
การคำนวณอัตราภาษีนำเข้าจะขึ้นอยู่กับ ประเภทของสินค้าที่คุณนำเข้า และกำหนดโดย HS Code หรือ พิกัดศุลกากร ที่ใช้จำแนกสินค้านั้น ๆ ซึ่ง HS Code คือรหัสสากลที่ใช้เพื่อระบุชนิดของสินค้าแต่ละประเภท ทั้งเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร หรืออุปกรณ์อุตสาหกรรม การรู้ HS Code ที่ถูกต้องจึงสำคัญอย่างมากในการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าที่คุณต้องจ่าย
หากคุณต้องการทราบอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่ต้องการ สามารถค้นหาด้วย HS Code คืออะไร และตรวจสอบกับกรมศุลกากรเพื่อความมั่นใจ หรือดูวิธีการคำนวณเพิ่มเติมได้จากบทความเกี่ยวกับ ขนาดกล่องพัสดุ ที่เกี่ยวข้องในการคำนวณน้ำหนักและขนาดในการขนส่งอย่างถูกต้อง
การทำธุรกิจนำเข้า สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจให้ชัดเจนก็คือ ภาษีนำเข้า ซึ่งมีหลายประเภท ทั้งภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอาจรวมถึงภาษีสรรพสามิต ทั้งหมดนี้คำนวณจากมูลค่าสินค้าและค่าขนส่ง ตามหลัก Incoterm ที่กำหนดข้อตกลงการส่งมอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ตัวอย่างเช่น FOB คือ เงื่อนไขการซื้อขายที่ผู้ขายรับผิดชอบการขนของจนถึงบนเรือ และผู้ซื้อจัดการการขนส่งต่อจากนั้น ทั้งนี้การจัดการเอกสารและการขนส่งอย่างถูกวิธี รวมถึงการเลือกวิธีการขนส่งอย่างเหมาะสม เช่น การใช้ Drop Off คือ การนำพัสดุไปฝากจุดบริการก่อนจัดส่งออกนอกประเทศ ล้วนช่วยให้การนำเข้าสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น
Aye Cargo เราพร้อมให้คำปรึกษาครบวงจร ทั้งการคำนวณภาษีส่งออก การจัดทำเอกสาร และการเลือกวิธีการจัดส่งที่คุ้มค่า ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เริ่มต้นทำธุรกิจหรือผู้นำเข้ามืออาชีพ ทีมงานของเรายินดีดูแลทุกขั้นตอน เพื่อสินค้าของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและตรงเวลา